กำเนิดคลอโรฟิลล์

คลิโรฟิลล์ (CHLOROPHYLL)

      คลอโรฟิลล์ (CHLOROPHYLL) คือ สารประกอบที่ทำให้พืชมีสีเขียว และทำหน้าที่หลัก คือ สังเคราะห์แสง (PHOTOSYNTHESIS)  โดยการเปลี่ยนแปลงพลังงานจากแสงอาทิตย์ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และแร่ธาตุต่างๆ จากดินให้กลายเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืช รวมทั้งให้ก๊าซออกซิเจนที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์ แต่บางชนิดสังเคราะห์แสงได้แม้ในที่ไม่มีแสง เช่น ในร่างกายของตน จึงมีการค้นคว้าเกี่ยวกับการทำงานหรือปฏิกิริยาของคลอโรฟิลล์ต่อคน
      พบว่าคลอโรฟิลล์ที่อยู่ในเซลล์ของพืชทั่วไป จะถูกปกป้องและปิดกั้นด้วยผนังหรือเยื่อหุ้มเซลล์อีกชั้นหนึ่ง ทำให้ระบบการย่อยอาหารปกติของร่างกายเราไม่สามารถบดย่อย เพื่อให้ได้สารคลอโรฟิลล์เพียงพอกับการต้องการของร่างกายเราได้ เราจะบริโภคผักใบเขียวเป็นจำนวนมากในแต่ละวันก็ตาม อีกทั้งคลอโรฟิลล์โดยตัวของมันเองละลายน้ำไม่ได้ จะละลายได้ในไขมันหรือในแอลกอฮอล์บางชนิดเท่านั้น แต่ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน เราสามารถสกัดเอาเฉพาะสารคลอโรฟิลล์ออกมาได้อย่างสมบูรณ์และบริสุทธิ์ โดยปราศจากการสูญเสียคุณค่าทางอาหารตามธรรมชาติร่างกายจึงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันทีอย่างเต็มที่ และเป็นคลอโรฟิลล์ชนิดละลายน้ำได้ จึงดูดซึมได้ทันทีในกระเพาะอาหาร ในกรณีที่ร่างกายใช้ไม่หมด จะถูกขับทิ้งไปทางระบบขับถ่ายไม่สะสมไว้ในร่างกายผิดกับคลอโรฟิลล์ชนิดที่ละลายในไขมัน   จะไม่ถูกดูดซึมที่กระเพาะอาหารแต่จะย่อยและดูดซึมได้ในลำไส้เล็ก 
      คลอโรฟิลล์ชนิดนี้เมื่อร่างกายใช้ไม่หมดจะถูกส่งไปสะสมไว้ที่ตับ(LIVER) ในระยะเวลาหนึ่ง ซึงอาจจะเกิดอันตรายต่อตับได้ องค์การอาหารและยาสหรัฐจึงให้การับรองเฉพาะคลอโรฟิลล์ที่ละลายน้ำได้(WATER SOLUBLE CHOLROPHYLL) เท่านั้น ว่าปลอดภัยต่อการบริโภคของคน ถึงแม้ว่าจะบริโภคในปริมาณมากต่อวัน ก็ไม่เกิดผลเสียต่อร่างกายแต่อย่างใด ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นมีเพียงแต่อาการท้องเสียอย่างเบาบางในบางกรณีเท่านั้น
      สูตรโครงสร้างของโมเลกุลที่ใกล้เคียงกับโมเลกุลเม็ดเลือดแดง ต่างกันเฉพาะตรงกลางที่คลอโรฟิลล์มีแมกนีเซียม(Mg) และเม็ดเลือดแดงมีเหล็ก (Fe) จึงทำให้สีต่างกัน คือ คลอโรฟิลล์มีสีเขียวแต่เม็ดเลือดมีสีแดงจากจุดนี้เองที่ทำให้คลอโรฟิลล์ถูกเรียกว่า เลือดของพืช”(BLOOD OF PLANT)
            ผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ สรุปตรงกันออกมาว่า คลอโรฟิลล์สามารถกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงได้ จนผู้ทำวิจัย ได้รับรางวัลโนเบล(NOBLE PRIZE) ไปแล้วถึง 2 ท่านด้วยกัน คือ
·       ดร.ริชาร์ด วินสเตตเตอร์ (DR. RICCHARD WINSTATER) ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยออสเตรีย ในปี ค.ศ. 1915 และ
·       ดร. ฮันส์  ฟิชเชอร์ (DR.HANS FISHER M.D.) นายแพทย์ชาวเยอรมันในปี ค.ศ.1930ผู้ซึ่งค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างเม็ดเลือดแดงและคลอโรฟิลล์ในบางเงื่อนไขสมารถแทนที่ศูนย์กลางของคลอโรฟิลล์ด้วยเหล็ก(Fe) จากอาหารธรรมชาติบางประเภท ทำให้อัตราการเพิ่มของเม็ดเลือดแดงดีขึ้น ทั้งนี้แมกนีเซียม (Mg) ที่หลุดออกไปจากศูนย์กลางโมเลกุลของคลอโรฟิลล์ ก็จะทำหน้าที่พาแคลเซียม(Ca) เข้าไปอุดรูพรุนของกระดูกต่างๆ ทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น ในโพรงกระดูก ซีงมีไขกระดูก (BONE MARROW)อยู่ก็จะมีการสร้างเม็ดเลือดแดงได้ในปริมาณที่มากขึ้น (หน้าที่ของไขกระดูก คือ สร้างเม็ดเลือดแดงและปรับระดับความเป็นด่างในกระแสเลือด)
            จากการทำวิจัยขององค์การอาหารและยาสหรัฐ กับผู้ป่วยแผลเปิด จำนวน 3,600 ราย พบว่าคลอโรฟิลล์ช่วยกระตุ้นให้มีการสร้างเซลล์ใหม่ให้เร็วขึ้นทำให้แผลหายเร็วกว่าปกติ 25%ขึ้นไปและรอยแผลเป็นลดขนาดลงกว่า 50 % หรือมากกว่า
            จากกรณีนี้จึงมีการวิจัยต่อเกี่ยวกับการรักษาอาการเจ็บป่วยในร่างการ อันเป็นสาเหตูของการเกิดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ พบว่าผู้ป่วยทั้ง 1227 ราย กลิ่นภายในหายหมดหลังจากใช้คลอโรฟิลล์ผ่านไป 2 สัปดาห์ จึให้การรับรองว่าเป็นยาดับกลิ่นภายใน สามารถซื้อขายได้ตามร้านขายยาทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 11  พฤษภาคม 1990  ตามเอกสารขึ้นทะเบียนยาที่ 21 CFR Part 357 Deodorant Drug Products for Internal Use for Over-the Counter Human Use: Final Monograph Final Rule
            การสกัดและวิเคราะห์ คลอโรฟิลล์ จากพืชกว่า 6,000 ชนิด พบว่าพืชที่ใช้ คลอโรฟิลล์ที่บริสุทธิ์และดีที่สุดคือ อัลฟัลฟ่า”  (ALFALFA) ซึ่งจัดเป็นพืชจำพวกที่มีฝัก (LEGUMES) ตระกูลถั่ว และมีระบบรากที่มหัศจรรย์มาก ในบางพื้นที่รากของต้นอัลฟัลฟ่าสามารถชอนไชลงไปลึกกว่า 130 ฟุต จึงมีประสิทธิภาพในการดูดซึมอาหารได้มากกว่า และบริสุทธิ์กว่าอีกทั้งตัวของมันเองจะไม่สะสมสารพิษ ชาวอาหรับโบราณรู้จักใช้ประโยชน์จาก อัลฟัลฟ่ามากกว่า 200 ปี ก่อนคริสตกาล โดยใช้เป็นพืชเลี้ยงสัตว์ และใช้ใบมาตากแห้งชงเป็นชาดื่ม จึงขนานนามว่า “AL-FAS-FAH-SHA หรือ ราชาแห่งอาหารทั้งมวล
ประโยชน์ของคลอโรฟิลล์จากต้น อัลฟัลฟ่า                                                          
            สามารถใช้บำบัดอาการปวด บวม และอักเสบต่างๆ เช่น ปวดข้อ จนกระทั่งถึงความผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร และเซลล์ตับถูกทำลาย นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่า อัลฟัลฟ่า สามารถช่วยทำให้เลือดสะอาดขึ้น
·       อัลฟัลฟ่า เป็นพืชที่ให้กรดอะมิโนที่จำเป็นครบทั้ง 8 ชนิด ซึ่งได้แก่ :-กรดอะมิโนโอโซลิวซีน,ลิวซีน,ไลซีน,เมไธโอนิน,พีนิลละลานีน,เทรโอนีน,ทริปโตฟาน,วาลีน
·       อัลฟัลฟ่า มีกรดอะมิโน เหล่านี้ ร่างกายสร้างเองไม่ได้ แต่จำเป็นต้องมีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการสร้างเซลล์ใหม่ใน อัลฟัลฟ่า ยังมีวิตามิน ดังนี้ วิตามิน เอ,วิตามิน บี 6,วิตามิน บี 12,วิตามิน ดี,วิตามิน เค
·       อัลฟัลฟ่า มีเกลือแร่ ได้แก่ :-ฟอสฟอรัส,โปรแตสเซียม,แคลเซียม,สังกะสี,เซเลเนียม,แมกนีเซียม
·       อัลฟัลฟ่า มีสารเอนไซม์หลัก 8 ชนิด ได้แก่ :-ไลเปส,อาเมเลส,โคกูเลส,อีมูลซิน,อินเวอร์เตส,เปอร์อ๊อกซิเตส,เพคติเนส,โปรตีส
·       มนุษย์เราต้องการเอนไซม์มากกว่า 3,000 ชนิด แต่ร่างกายสร้างได้เองเพียงไม่กี่ชนิด นอกนั้นต้องบริโภคจากอาหารสดประจำวันประเภทพืชผัก และผลไม้ต่างๆ  แต่ถ้าหากอาหารเหล่านี้ผ่านความร้อนเกินกว่า 55 องศาเซนเซียส ขึ้นไป เอนไซม์ต่างๆ จะเสื่อม หรือเปลี่ยนรูปไป และร่างกายจะไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย
            ร่างกายต้องการเอนไซม์เพื่อช่วยปรับระดับความสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันต่างๆ และจากวิธีการรับประทานอาหารในปัจจุบันนี้ เราได้รับเอนไซม์เข้าไปในร่างกายน้อยมาก
·       อัลฟัลฟ่ายังมี ซาโปนินซึ่งเป็นสารที่มีผลในการลดการอุดตันของเลือด และช่วยยับยั้งคลอเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) ในเลือดลงได้ ช่วยลดความดันโลหิตลง
·       สารไอโซฟลาโวน,ฟลานโวน ,เตอโรล ในอัลฟัลฟ่ายังช่วยกระตุ้นการสร้าง ฮอร์โมนเอสโตรเจนและปรับระดับฮอร์โมนนี้ในสุภาพสตรี ทั้งก่อนมีรอบเดือน (PMS) และอยู่ในวัยที่ใกล้จะหมดรอบเดือน (MENOPAUSE)
· 
·